วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

ประกอบคอมพิวเตอร์ 2

Hollowwwww สวัสดีค่ะเพื่อนๆ มาคราวนี้  เราก็จะมาเลือกซื้ออุปกรณ์ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้งกัน แต่ครั้งนี้มีเรามีข้อมูลเกณฑ์ราคาและคุณลักษณะพื้นฐานครุภัฑ์คอมพิวเตอร์ ประจำปี พ.ศ.2559  แต่เราเลือกที่จะซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ราคา 16,000 บาท ตามเกณฑ์ข้างล่างนี้เลย มาดูกันเลยค่ะว่าเราจะได้อุปกรณ์แบบไหนกัน


เรามาเริ่มกันเลยนะคะว่าเราจะได้อุปกรณ์ออกมาหน้าตาเป็นแบบไหนกันบ้าง มาเลยค่ะ ลุยยยย^....^

1. ซีพียู(CPU)
หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์
     การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง CPU ที่มีความเร็วสูงๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพงๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU อาจจะมีราคาตกลงมา ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานดีกว่า
      หากต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบธรรมดาใช้พิมพ์เอกสารต่างๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูกๆ ก็เพียงพอแล้วแต่หากใครต้องการเน้นไปที่การใช้งานแบบหนักๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย

   และรุ่นที่เลือกซื้อก็คือ CPUของ  INTEL Core i3-4150 ราคา3,950 บาท
รายละเอียดและคุณสมบัติ

2. แรม (RAM)
                           ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม(Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย
1.)    ประเภทของแรมต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้พีซี เช่น DDR, DDR2และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง
 2.)    ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือ มัลติมิเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่ององคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 4 GB ขึ้นไป
3.)    ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผู้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วของเมนบอร์ดด้วย 
และแรมที่เราทำการเลือกซื้อในวันนี้คือ

KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1866 (4GBx2) Black ราคา 1,340 บาท

รายละเอียดและคุณสมบัติ


3. ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk)
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์  
       สำหรับคอมพิวเตอร์ในส่วนของฮาร์ดดิสก์ หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่าลองมองดูว่าฮาร์ดดิสก์ตัวเดิมยังมีขนาดเพียงพอำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่มองควรจะพิจารณาคือ ขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่เลือกขนาดที่ใหญ่ๆ ไว้ก่อน เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
              1) ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำ
              2) ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66 ก็เลือกแบบ UDMA-66 เพราะการส่งถ่ายข้อมูละทำได้เร็วกว่า
              3) ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากยิ่งดี
ฮาร์ดดิสก์(Hard Disk)ที่เราทำการเลือกซื้อคือฮาร์ดดิสก์ของ

TOSHIBA 1TB ราคา1,610  บาท

รายละเอียดและคุณสมบัติ
4. เมนส์บอร์ด(Main Board)
เมนบอร์ด (Main Board) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ(motherboard: mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยช่องติดตั้งซีพียู ไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำสายสัญญาณและบัสต่างๆขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟ และพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีย์บอร์ด
สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนเมนบอร์ด หรือต้องการซื้อเมนบอร์ดเพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟรอนต์ไซด์บัส สล็อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆหรือสล็อต ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์ 
สำหรับเมนบอร์ด (Main Board) ที่เราทำการเลือกซื้อในวันนี้คือ

ASROCK H81M-VG4 R2.0 ราคา 1,890 บาท

รายละเอียดและคุณสมบัติ


5. เคส(Case)
การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์
      Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX และนอกจากนี้เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะใช้ กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้ว สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ AT แต่หาเมนบอร์ดได้ยากลองมองดูส่วนของ Case หากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม
รุ่นที่เราเลือกซื้อคือ

THERMALTAKE Commander MS-I Snow Edition  ราคา1,890 บาท

รายละเอียดและคุณสมบัติ


6. หน้าจอ (Mo niter)
จอภาพ (Monitor) ที่พบมีอยู่ 2 ประเภทคือจอแบบ CRT และจอแบบ LCD ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้จอแบบ LCD เป็นหลักเพราะมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่ในการจัดวางน้อย ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ 
Mo-niter ที่เราเลือกซื้อคือ

SAMSUNG LS20B300BSV ราคา 3,440 บาท


                                       รายละเอียดและคุณสมบัติ

8. คีย์บอร์ด(Key Board)
USB Keyboard NUBWO (NK-005 SAVIOUR) Red/Black ราคา 215 บาท

9. เมาส์(Mouse)

USB Optical Mouse RAPOO (V20, Gaming) Red/Black ราคา 590 บาท 
รวมราคาอุปกรณทั้งหมดก็ 14,525 บาท เห็มมั้ยค่ะเพื่อนๆเราได้อุปกรณืตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และไม่เกินงบที่ตั้งไว้เลย
สำหรับครั้งนี้ก็ขอกล่าวคำว่า สวัสดีค่ะ พบกันใหม่ในบล็อกต่อไปนะคะ

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Boot Up )

                 Hollowww สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกคนกลับมาเจอกันอีกแล้วกลับบทความเรื่องใหม่ อย่าพึ่งเบื่อกันนะคะ วันนี้เรา


การทำงานของคอมพิวเตอร์ ( Boot Up )
การทำงานของคอมพิวเตอร์(Boot Up ) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการเข้าไป เก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง ( boot ) นั่นเอง ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่อง มีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ


ขั้นตอนการบู๊ตเครื่องในคอมพิวเตอร์
1.         พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน ในคอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า พาวเวอร์ซัพพลาย ( power supply )ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานทันทีเมื่อเรากดปุ่มเปิด ( Power ON )และเมื่อเริ่มทำงานก็จะมีสัญญาณส่งไปบอกซีพียูด้วย (เรียกว่าสัญญาณ Power Good )

2.         เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ 
กระบวนการ POST (power on self test)เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งในไบออสซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติด ตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด , RAM , ซีพียู,รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งเราสามารถสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏบนจอภาพใน ระหว่างบู๊ตและจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา (ซึ่งเป็นประโยชน์ในการที่แสดงผลทางจอภาพไม่ขึ้น) โดยปกติถ้าการตรวจสอบเรียบร้อยและไม่มีปัญหาใดๆ ก็จะส่งสัญญาณปี๊บสั้น ๆ 1 ครั้ง แต่หากมีอาการผิดปกติจะส่งสัญญาณที่มีรหัสเสียงสั้นและยาวต่างกันแล้วแต่ข้อ ผิดพลาด (error ) ที่พบ เช่น ถ้าเป็นข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการ์ดแสดงผลจะส่งสัญญาณเป็นเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะมีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน

3.         ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส 
ข้อมูลของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งแล้วในเครื่องหรือค่าconfiguration จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ซีมอส (CMOS – complementary metal oxide semiconductor )ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยในการหล่อเลี้ยง โดยใช้แบตเตอรี่ตัวเล็ก ๆ บนเมนบอร์ด เพื่อให้เครื่องสามารถจำค่าต่าง ๆ ไว้ได้ ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST นี้ จะถูกนำมาตรวจสอบกับข้อมูลซีมอส ถ้าถูกต้องตรงกันก็ทำงานต่อได้ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้ให้แก้ไขข้อมูลก่อน

4.         ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบู๊ตจากฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีหรือฮาร์ดดิสก์ 
ขั้นถัดไปไบออสจะเข้าไปอ่านโปรแกรมสำหรับการบู๊ตระบบปฏิบัติการจากเซกเตอร์แรกของฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หรือซีดีรอม โดยที่ไบออสจะมีความสามารถในการติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านั้นได้

5.         โปรแกรมส่วนสำคัญจะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM 
เมื่อไบออสรู้จักระบบไฟล์ของไดรว์ที่บู๊ตได้แล้วก็จะไปอ่านโปรแกรมส่วนสำคัญของระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเคอร์เนล ( kernel ) เข้ามาเก็บในหน่วยความจำหลักหรือ RAM ของคอมพิวเตอร์เสียก่อน

6.      ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ เคอร์เนลที่ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำนั้นจะเข้าไปควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่าง ๆ พร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงานต่อไป  ซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ จะมีส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟิกหรือ GUI เพื่อสนับสนุนให้การใช้งานกับคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีก
ประเภทของการบู๊ตเครื่อง ดังที่อธิบายแล้วว่าการบู๊ตเครื่อง คือ ขั้นตอนที่คอมพิวเตอร์เริ่มทำการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำ RAM ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น2ลักษณะด้วยกันคือ
·            โคลด์บู๊ต ( Cold boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง ( Power On )
แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องนี้จะอยู่บนตัวเคสของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์
ทั้งหมดเหมือนกับสวิทช์ของ อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
·            วอร์มบู๊ต ( Warm boot ) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง ( restart )
โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ (เครื่องแฮงค์) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบู๊ตเครื่องกันใหม่ สามารถทำได้สามวิธีคือ
    • กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง (ถ้ามี)
    • กดปุ่ม Ctrl + Alt + Delete จากแป้นพิมพ์ แล้วเลือกคำสั่ง restart จากระบบปฏิบัติการที่ให้
    • สั่งรีสตาร์ทเคื่องคอมพิวเตอร์จากเมนูบนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์                                           
สำหรับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็มีเพียงแค่นี้ ไว้พบกันใหม่กับบล็อกต่อไปนะคะ สำหรับบล็อกนี้ก็ขอกล่าวคำว่าสวัสดีค่ะ......BY BY

เลือกซื้ออุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์

Hi Hi สวัสดีค่ะเพื่อนๆ กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ วันนี้เราจะมาเลือกซื้ออุปกรณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์กันนะคะ ในราคา17,000 บาท ที่ใช้ในการทำงานทั่วไป มาดูกันเลยว่า เราจะได้อุปกรณ์น่าตาเป็นยังไง ไปกันเลยค่ะ

        อันดับแรกเราก้มาเริ่มซ้ออุปกรณ์กันเลยคะ.......

1. เคส (Case) 

COOLER MASTER Elite 310 (Black-Red)


            กว้าง 141 ยาว 468 ลึก 437  น้ำหนัก 6.9 Kg ราคา 1,290 บาท รองรับ mATX / ATX เมื่อเราเลือกเคสได้แล้ว ต่อมาเราก็จะมาเลือกอุปกรณ์ภายในเคสกันค

2. เมนส์บอร์ด(Main board)

ASROCK B85M-DGS


                 รองรับ CPU แบบขาเป็นตุ่ม หรือ Socket  LGA1150  รองรับ Intel Pentium ไปจนถึง Core i7 processors จำนวน Slot แรม 2 ช่อง ชนิดของแรม Dual Channel DDR3/DD3L 1600 ความจุRamสูงสุด 16 GB ชนิดของเมนบอร์ด mATX ราคา 1,970 บาท
3. ซีพียู(CPU)

INTEL Core i5-4690

       Socket LGA1150 หรือ แบบขาตุ่มง่ายต่อการถอดและการใส่ประกอบมี 4 Core 4 Thread ความเร็วปกติ 3.50 GHz เร่งความเร็วสูงสุดได้ 3.90 GHz ราคา 8,380 บาท

4. แรม (RAM)

KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1600 (4GBx2) Red

แรมชนิด DDR3  ความจุ 8GB (4GBx2) RAM Bus 1600 ราคา 1,320 บาท

5. ฮาร์ดดิส (Hard Disk)

          WESTERN DIGITAL Green 1TB WD10EZRX



  
       Hard Diskขนาด3.5 ความ 1 TB ความเร็วจานหมุน 5400 ขนาด Buffer 64MB Portเชื่อม Sata3  ราคา 1,750 บาท

6. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

TSUNAMI Black Strom 850W


             Power Supply ประเภท ATX  กำลังไฟสูงสุด  850W ราคา 2,250 บาท 
  

     เมื่อรวมราคาอุปกรณืทั้ง็จะเป็น 16,969 บาท เห็นไหมคะเพื่อนๆ ไม่เกินงบที่เราได้ตั้งไว้เลย

วันนี้ก็ขอกล่าวคำว่าสวัสดีค่ะ สำหรับบล็อกนี้ ไว้พบกันใหม่ในเรื่องต่อไปนะค่ะ By By