วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์

        สวัสดีค่ะเพื่อนทุกคน วันนี้กลับมาพบกันอีกแล้ว ...............^^__^^
คราวนี้จะมารีวิวเกี่ยวการเลือกอุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์โดยมีอยู่ 2 แบบในการเลือกซื้อ คือ แบบที่ 1. สำหรับ โฮมออฟฟิศ ในราคา 17,500 บาท และ อัพเกรดเป็น แบบที่ 2. สำหรับ เริ่มต้นเล่นเกมมือใหม่ ในราคา 21,000 บาทค่ะ
     การสำรวจระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์
การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็คเครื่องที่เหมาะสมได้ต่อไป วันนี้เราจะทำการเลือกซื้อสำหรับ โฮมออฟฟิศ ในราคา 17,500 บาท กันนะค่ะ   สำหรับผู้ใช้งานในออฟฟิศ จะคล้ายกับผู้ใช้มือใหม่ตรงที่ไม่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เน้นการทำงานเอกสารหรืออาจจะใช้ Photoshop แต่ง ภาพเล็กๆ น้อยๆ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมจะใกล้เคียงกับผู้ใช้มือใหม่ เพียงแต่ปรับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเพิ่มไดรว์ CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล และสามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้

แสดงสเป็คเครื่องสำหรับพีซีระดับผู้ใช้ในออฟฟิศ


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
สเป็คที่แนะนำ
ซีพียู
รุ่น Intel Pentium Dual Core หรือ AMD Athlon64x2
แรม
512 MB ขึ้นไป
ฮาร์ดิสก์
ความจุ 160 GB
เมนบอร์ด
เลือกแบบที่มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ AGP 4x หรือ 8x สำหรับการ์ดแสดงผลคุณภาพ
การ์ดแสดงผล
ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน AGP 4x หรือ 8x ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 32 MB ขึ้นไป
ไดรว์ CD/DVD
CD-ROM หรือ DVD-ROM (อาจเพิ่ม CD-RW สำหรับเก็บข้อมูล)
จอแสดงผล
ขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 15-17 นิ้ว

เครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ในออฟฟิศ
เป็นเครื่องพีซีสำหรับผู้ใช้ที่ชอบติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลายเช่น ตกแต่งภาพกราฟิกส์ งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง/ฟังเพลง มีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองการใช้งาน อีกทั้งยังเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน เครื่องที่ตอบสนองเร็วทันใจ ไม่ช้าจนน่ารำคาญ สเป็คเครื่องดังตารางด้านบน
1.หลักการเลือกซื้อ ซีพียู (CPU) 
   ในการเลือกซื้อซีพียู(CPU) สำหรับใช้งานในออฟฟิศนั้นการเลือกซื้อซีพียูนั้นเราจะใช้รุ่นที่ราคาถูกไม่แพงมาก ซีพียู(CPU) ที่เลือกซื้อคือ AMD A6-6420K ในราคา 2,190 บาท เพราะเราใช้ในการพิมพ์เอกสาร การใช้งานเกี่ยวกับออฟฟิศและใช้ในงานด้านกราฟิกเล็กน้อย ซึ่งเจ้าตัวซีพียู(CPU)  รุ่นนี้ก็ดูไม่แพงและเหมาะสมกับการใช้งานในออฟฟิศ
รายละเอียด

2.Main Board หรือ Motherboard 


  สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ด(Main Board) เราก็ทำการซื้อยี่ห้อของGIGABYTE GA-F2A88XM-D3H
 ในราคา2,390บาท สิ่งสำคัฐในการเลือกซื้อเมนบอร์ด(Main Board)ก็คือต้องดูซีพียู(CPU)ว่าSocketนั้นมันตรงกับเมนบอร์ด(Main Board)ของเราไหม เช่นรุ่นที่เราเลือกซีพียู(CPU)รองรับSocket FM2 เมนบอร์ด(Main Board)ของเราก็ต้องรองรับSocket FM2เช่นกัน ห้ามลืมนะค่ะเพื่อนๆๆ^....^
รายละเอียดของMain Board

3.การเลือกซื้อ RAM 

       สำหรับ RAMเราเลือกKINGSTON Hyper-X Fury DDR3 8GB 1866 (4GBx2) Black DDR3 8GB 1866 (4GBx2) Black ในราคา1,340บาท
   การเลือกซื้อแรม(RAM)
1.ประเภทของแรม  DDR3 เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย  ซึ่งมีความเร็วสูงสุด  ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ  แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น  ถือได้ว่ามีความเร็วสูง ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด
2.หน่วยความจำ  แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก  ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย  โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHz  ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก  แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา  เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
3.ความเร็ว  ความเร็วหรือว่าบัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน  แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน  หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ  เมนบอร์ดรองรับ  และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน  มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
4.ก็การเลือกยี่ห้อ  การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่ความชอบของเพื่อนๆ แต่จะมีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อย รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความชอบของเพื่อนๆเองค่ะ
รายละเอียด

4.การเลือกซื้อ VGA Card สำหรับคอมพิวเตอร์

สำหรับ VGA Card ปัจจุบันนี้ ก็จะแบ่งออกเป็น แบบใหญ่ ๆ คือการ์ดแสดงผลแบบ 2D และแบบ 3D ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ ก็จะเป็นแบบ 3D กันหมดแล้วครับ เพียงแต่อาจจะแตกต่างกันทางด้านความเร็ว จำนวนของ RAM บนการ์ดและคุณภาพ ตามราคาเท่านั้น             สำหรับครั้งนี้เราเลือก ASUS R7 260X DC2OC ในราคา3,560 บาท 
รายละเอียด

5. เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์(Hard Disk)

    ฮาร์ดดิสก์ที่เราเลือกคือWESTERN DIGITAL Blue 500GB WD5000AAKX ราคา 1,520 บาท  ข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้

1.ประเภทของ ฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน  คือ  (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้  เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า  และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก  เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว  และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
sata-ide_lg
2.ขนาดของความจุ  ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล  นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง  เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน  ไม่รู้จักเต็มสักที  แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
3.ความเร็วรอบ  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์  คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว  ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น  ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm)  ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว  และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
4.บัฟเฟอร์ของ ฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ  เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์   ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก  โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม  แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง  ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์  ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
5.ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล
ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี  ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง  ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
มารู้จักเทคโนโลยีไฮบริด (Hybrid)
ฮาร์ดดิสก์แบบนั้นคือเป็นเทคโนโลยีที่นำหน่วยความจำมาเป็นแฟลช  มาทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์โดยลักษณะจะเหมือนการทำงานของแฟลชไดร์  โดยหน่วยความจำที่นำมาใช้นั้นจะช่วยเพิ่มที่จะช่วยโหลดไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ  หรือเก็บมาไว้ใช้ชั่วคราว  ก็ช่วยเพิ่มทั้งความปลอดภัยและความรวดเร็วของของมูล
รายละเอียด

6.การเลือกซื้อ Case

Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX และนอกจากนี้เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะใช้ กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่ Caseที่เราเลือกเป็นของ AERO COOL CS-1001 (Black) ในราคา 1,590 บาท                       รายละเอียด

                                          7.พาวเวอร์ซัพพลาย(Power Supply)   
                                                                                                              เราเลือกซื้อของRAIDMAX RX-500AF ในราคา1,570บาท 
รายละเอียด

                                                                                      8.เลือกซื้อจอแสดงผล(Moniter)

เราเลือกของ ACER K222HQL ในราคา3,340บาท                                           รายละเอียด
                                                                                                             เป็นยังไงกันบ้างค่ะเพื่อนๆ สำหรับการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราในราคา17,500 บาท ก็หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านกันบ้าง แต่ถ้าใครต้องการเปรียบเทียบราคายี่ห้อรุ่น ขออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เราก็แนะนำเว็ปไซน์นี้นะค่ะ http://notebookspec.com/PCspec?pw=1 เพื่อถ้าเพื่อนอยากลองซื้ออุปกรณ์เองบ้างจะได้เปรียบเทียบราคา คุณสมบัติต่างได้ค่ะ                              
                                                                                                          แหล่งอ้างอิงและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม                                                                                       -  http://plypranee1.weebly.com/3627362136333585358536343619364836213639362935853595363936573629362936403611358536193603366035883629361736143636362336483605362936193660.html                                                      - https://wawaiceshu.wordpress.com/                                                                       - http://www.amno.moph.go.th/technology/Lesson-11/le11-04.htm   

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

เปิด - ปิด คอมพิวเตอร์โดยเปิดนอกเคส

สวัสดีค่ะเพื่อนๆทุกคน วันนี้เรากลับมาอีกครั้งแต่เป้นเรื่องใหม่น่ะ อย่าพึ่งเบื่อกันนะ วันนี้เราจะมาทำการเปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์โดยการใช้เมนบอร์ด โดยที่เราไม่ต้องกดปุ่ม Power เลย เรานี้ลุ้นมากๆเลยในการเปิด - ปิด นอกเคสแบบนี้ เรามาเริ่มกันเลยนะค่ะ ^^__^^ 
ขั้นตอนแรก เราก็จะทำการเปิดฝาที่ครอบเคสออกเพื่อที่เราจะทำการแกะเอา เมนบอร์ด พาวเวอร์ซัพพลาย ฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้มนการ เปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ออกมา ขั้นนี้สำคัญมากๆคือเราต้องเก็บน็อตไว้เป็นอย่างดีอย่าให้หายแม้แต่ตัวเดียว

นี้คือ ฮาร์ดดิส
นี้คือ พาวเวอร์ซัพพลาย

นี้คือตัวเมนบอร์ดที่เราจะนำมาทำการ เปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่เราจะเปิด - ปิด โดยที่ไม่ใช้ปุ่มPowerของเครื่องคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญในการเปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส คือ เราต้องต่อสายไฟให้ถูกต้อง เพราะว่าสายไฟในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีเยอะมากๆ และบางสายก็มีความคลายคลึงกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดเราอาจจะถ่ายรูปไว้ เพื่อป้องกันการหลงลืมหรือต่อผิด
นี้คือพัดลมระบายความร้อนของซีพียู (CPU)

เมนบอร์ดที่เราถอดพัดลมระบายความร้อนของซีพียูออก เพื่อดูซีพียู
นี้คือซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้


เมื่อทำการต่อสายไฟ ฮาร์ดดิสก์เข้ากับเมนบอร์ดและต่อสายไฟของพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ดเรียบร้อยครบทุกตำแหน่ง เราก็จะมาทำการเปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคสกันเลย
ต่อไปเราจะมาทดสอบ เปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กดปุ่ม power มาดูกันแต่ก่อนที่เราจะเปิดนั้น เราต้องศึกษาหาวิธีการเปิดปิดกันก่อนซึ่งดูได้จาก Data Sheets 

เราก็จะมาทำการเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคสกัน โดยเราจะทำการใช้แหนบที่เป้นโลหะแตะที่ขาที่ใช้ทำการเปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแม้กระทั้งการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ จากที่เราทำการศึกษาข้อมูลจาก Data Sheets
นี้คือภาพรวมการเปิด - ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคส พร้อมทั้งทำการต่อเข้ากับจอภาพเพื่อดูว่าเราทำการเปิด - ปิดเครื่องนองเคสนั้นได้ผลอย่างไร สำหรับผลลัพธ์ของเราคือได้ผลค่ะ ลุ้นมากๆกลัวไม่ติดกลัวระเบิดแทบตาย
 
ติดอยู่น้ะ แสดงว่ากลุ่มพวกเราต่อสายไฟถูก ไม่มีสายใดต่อผิด




ลุ้นมากจริงๆว่ามันจะติดไหม ในใจกลัวจะไม่ติดและกลัวมันระเบิด  เฮ้อออ โล่งอกมากๆเลย






ประสบการณ์ในการทำครั้งแรกผ่านไปได้ด้วยดี

 
เย้ๆๆๆๆ สุดท้ายในการเปิด - ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคสของกลุ่มเราก็ประสบความสำเร็จไม่มีอะไรระเบิด นี้แค่ครั้งแรกน้ะนี้ ยังไงถ้าว่างๆเพื่อนก็ลองทำกันดูน้ะ แล้วพบกันใหม่กับเรื่องใหม่น้ะคะ